หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ผู้บริหารและบุคลากร
พันธกิจ
วิสัยทัศน์
แนวคิด
วัตถุประสงค์
กลุ่มงานต่างๆ
กลุ่มงานอาคารสถานที่่
กลุ่มงานโภชนาการ
กลุ่มงานพยาบาลและอนามัย
กลุ่มงานสวัสดิการ
กลุ่มงานนักปฎิบัติการ
กลุ่มงานกลุ่มบริหารทั่วไป
กลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กลุ่มงานตกแต่งสถานที่และภูมิทัศน์
กลุ่มงานจัดระบบงานบริหารพัฒนาฯ
กลุ่มงานสารณูประโภค
กลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์
กลุ่มงานยานพาหนะ
กลุ่มงานชุมชนสัมพันธ์และบริการ
กลุ่มงานจัดทำสำมะโนผู้เรียน
ติดต่อเรา
แนะนำความรู้
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
อาคารสถานที่
ศาลาพระพุทธ
ศาลเจ้าพ่อกว้าน
อนุเสาวรีย์เจ้าพ่อบุญวาทย์
คำปฎิญานตน
ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
น้ำดื่ม R.O.
ดาวน์โหลดเอกสาร
Menu
หน้าแรก
เกี่ยวกับเรา
ผู้บริหารและบุคลากร
พันธกิจ
วิสัยทัศน์
แนวคิด
วัตถุประสงค์
กลุ่มงานต่างๆ
กลุ่มงานอาคารสถานที่
กลุ่มงานโภชนาการ
กลุ่มงานพยาบาลและอนามัย
กลุ่มงานสวัสดิการ
กลุ่มงานนักปฎิบัติการ
กลุ่มงานกลุ่มบริหารทั่วไป
กลุ่มงานแผนงานและสารสนเทศ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์
กลุ่มงานตกแต่งสถานที่และภูมิทัศน์
กลุ่มงานจัดระบบงานบริหารและพัฒนาองค์กร
กลุ่มงานสารณูประโภค
กลุ่มงานโสตทัศนูปกรณ์
กลุ่มงานยานพาหนะ
กลุ่มงานชุมชนสัมพันธ์และบริการสาธารณะ
กลุ่มงานจัดทำสำมะโนผู้เรียน
ติดต่อเรา
แนะนำความรู้
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
อาคารสถานที่
ศาลาพระพุทธ
ศาลเจ้าพ่อกว้าน
อนุเสาวรีย์เจ้าพ่อบุญวาทย์
คำปฎิญานตน
ความรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหว
น้ำดื่ม R.O
ดาวน์โหลดเอกสาร
จำนวนผู้เข้าชม
Search
Custom Search
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย
ประวัติการก่อตั้ง
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยเป็นโรงเรียนรัฐบาลแห่งแรกของจังหวัดลำปาง ตั้งขึ้นเมื่อประมาณ รศ.๑๑๗ (พ.ศ. ๒๔๔๑ ) ณ วัดพระแก้วดอนเต้า ต่อมาราว รศ. ๑๑๘ ( พ.ศ. ๒๔๔๒ ) ได้ย้ายไปอยู่ที่วัดสุชาดา แล้วย้ายไปอยู่ที่วัดแสงเมืองมา ในราว รศ. ๑๑๙ ( พ.ศ. ๒๔๔๓ ) ..... ภายหลังเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต เจ้าผู้ครองนครในสมัยนั้นได้ย้ายโรงเรียนจากวัดแสงเมืองมามาอยู่ที่หน้าคุ้มของท่าน นักเรียนเพิ่มมากขึ้น สถานที่เรียนไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน เจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต จึงได้ซื้อที่ดินบริเวณห้างกิมเซ่งหลี (ปัจจุบันคือโรงแรมอรุณศักดิ์ ) ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลน้ำล้อม อำเภอเมืองลำปาง แล้วย้ายโรงเรียนจากหน้าคุ้มมาตั้ง ณ ที่แห่งใหม่
ครั้นถึง รศ. ๑๒๔ ( พ.ศ. ๒๔๔๘ ) สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จต่างพระเนตรพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้เสด็จมาทรงเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๘ พระราชทานนามโรงเรียนว่า " บุญวาทย์วิทยาลัย " ตามราชทินนามของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต ผู้ครองนครเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ท่าน....ปรากฏหลักฐานในพระราชนิพนธ์ " ลิลิตพายัพ " ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงใช้พระนามแฝง " หนานแก้วเมืองบูรพ์ " ว่า
"วันที่ซาวหกนั้น เสด็จไป ทรงเปิดโรงเรียนไทย ฤกษ์เช้า บุญวาทวิทยาลัย ขนานชื่อ ประทานนอ เป็นเกียรติยศแด่เจ้า ปกแคว้นลำปาง"
โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยจึงถือเอาวันที่ ๒๖ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันสถาปนาโรงเรียนสืบมา หลังจากโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยได้ย้ายออกมาหน้าคุ้ม เจ้าบุญวาทย์วิทยาลัยด้ตั้งโรงเรียนใหม่ขึ้นอีกโรงเรียนหนึ่ง ตรงที่หอพระบริเวณสวนดอกไม้ในคุ้มหลวง เพื่อให้บุตรหลานของเจ้าพ่อได้เรียนแล้วขยายรับเด็กที่อยู่บริเวณใกล้ๆด้วย โรงเรียนนี้ไม่มีชื่อ แต่คนนิยมเรียกว่าโรงเรียนเจ้าชื่น ต่อมาย้ายโรงเรียนมาอยู่ตรงหน้าคุ้ม และได้ชื่อว่า " โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล " ตามชื่อเดิมของเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าโรงเรียนหน้าคุ้ม ภายหลังโรงเรียนแห่งนี้ได้ย้ายมาเรียนรวมกับโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒
ปี พ.ศ. ๒๔๗๔ สถานที่เรียน ( บริเวณห้างกิมเซ่งหลี ) คับแคบเกินกว่าที่จะรองรับนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น จึงย้ายโรงเรียนมาตั้งอยู่นอกกำแพงเมือง ( คือสถานที่ตั้งของโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยปัจจุบัน ) ในเนื้อที่ ๔๐ ไร่ ๑งาน ๔๔๔ ตารางวา ต่อมาโรงเรียนบุญวาทย์ได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นและก่อสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมมาตามลำดับเพื่อให้สอดคล้องกับการขยายตัวของการศึกษาและจำนวนนักเรียนในโรงเรียน ในเนื้ที่ขยายออกไปเป็น ๔๔ ไร่ ๓ งาน ๕๔ ตารางวา
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาของจังหวัดลำปาง และสร้างอาคารวิทยาศาสตร์โดยใช้เงินงบประมาณและรายได้จากการจัดงานฤดูหนาวของจังหวัดลำปาง โดยมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคสมทบทุนด้วย .... และตั้งแต่วันที่โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย ได้สถาปนามาจนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ โรงเรียนได้มีอายุครบ ๑๐๐ ปี เป็นร้อยปีแห่งความภาคภูมิใจที่ได้สั่งสมมายาวนาน ได้สร้างเยาวชนที่มีคุณภาพให้แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติเกือบ ๑๐๐ รุ่น จึงนับได้ว่าเป็นร้อยปีแห่งความภาคภูมิใจและเกียรติคุณอย่างแท้จริง
Powered by
Artisteer.net
and Template created with Artisteer.